วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

พระจักรพรรดิกุบไล ข่าน

พระจักรพรรดิกุบไล ข่าน
 
 


สมเด็จ พระจักรพรรดิกุบไล ข่าน" (Kublai Khan) หรือ จักรพรรดิซื่อจูหวางตี้ หรือ จักร พรรดิซีโจ๊วฮ่องเต้ เป็นพระราชนัดดา(หลาน)ในจอมจักรพรรดิ"เจงกิส ข่าน" กับพระอัยยิกา (ย่า) "บูร์ไต" พระราชบิดาของพระองค์พระนาม "ตูลิ" ส่วนพระราชมารดาคือ "พระนางซอร์กัจตานิ เบกิ" กุบไล ข่านมีพระชนม์อยู่ในช่วง ค.ศ.1215-1294 และครองบัลลังก์เป็นข่าน หรือจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิมองโกล เมื่อ ค.ศ.1260 ต่อมา ค.ศ.1279 ทรงสถาปนาราชวงศ์หยวนขึ้นปกครองจีน เป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ รวมรัชสมัยของพระองค์อยู่ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1260 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1294 อันเป็นวันสวรรคต พระชนม์ 78 พรรษา

 


จักรวรรดิมอง โกลอันเกรียงไกรที่พระอัยกา(ปู่)เจงกิส ข่าน สร้างไว้ ขึ้นถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยของกุบไล ข่าน เมื่อทรงมีชัยในสงครามโค่นล้มราชวงศ์ซ้อง ได้ขึ้นปกครองจีนในที่สุด ทรงตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (ยุคนั้นเรียกชื่อเมืองต้าตู) เปิดศักราชชาวมองโกลครองจีนโดยทรงสถาปนาราชวงศ์หยวน ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก ในพระนาม หยวนซีโจ๊วฮ่องเต้ ทรงปราบปรามจีนที่ยังแข็งข้อราบคาบในอีก 19 ปีต่อมา

นับ เป็นฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชนชาวจีนยกย่องนับถือว่าเป็นกษัตริย์สำคัญพระองค์ หนึ่ง ทั้งที่ทรงเป็นคนต่างด้าว แต่เพราะทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองบ้านเมืองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน ทรงชนะใจชาวจีน เป็นฮ่องเต้มองโกลพระองค์เดียวที่จีนยอมรับ รวมถึงด้านวรรณศิลป์ที่หลักฐานระบุว่าจากที่ทรงสนใจทางอักษรศาสตร์และ วรรณกรรม จึงส่งเสริมบทประพันธ์ต่างๆ ว่ากันว่าบทงิ้วในสมัยกุบไล ข่านดีมาก จนไม่มีบทงิ้วสมัยใดเทียบได้

รัชสมัยของจักรพรรดิกุบไล ข่าน อาณาจักรจีนแผ่ไพศาล ทางตะวันออกจดเกาหลี ขณะที่ทางตะวันตกอาณากว้างไกลไปจดประเทศโปแลนด์ ส่วนทางใต้ทรงส่งทัพไปตีได้เกือบหมดอินโดจีน รวมดินแดนดาลี (หรือ ต้าลี่ ในมณฑลยูนนานในปัจจุบัน) และเกาหลี อันนัม เวียดนาม ตลอดจนตังเกี๋ย รวมพม่า จากนั้นทรงพยายามขยายอิทธิพลโดยบุกไปโจมตีญี่ปุ่นและชวา แต่ไม่สำเร็จ พ่ายแพ้กลับมา เนื่องจากนักรบมองโกลเก่งกาจแต่การรบบนหลังม้า ขณะที่การโจมตีดินแดนที่เป็นเกาะต้องใช้ทัพเรือ ซึ่งมองโกลไม่เชี่ยวชาญพอ แต่บางเอกสารว่าเรือถูกมรสุมจึงไม่สำเร็จ

รัชสมัยกุบไล ข่าน มองโกลและจีนรุ่งโรจน์ยิ่ง นับรวมสัมพันธไมตรีกับตะวันตก โดยพบหลักฐานเป็นอันมากที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของพระองค์กับกษัตริย์แห่ง ยุโรป โดยเฉพาะองค์สันตะปาปาแห่งคริสต์ศาสนา และพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ในสมัยนี้มีทั้งทูต สมณทูต นักสอนศาสนา พ่อค้า ประชาชนจากยุโรปเดินทางมาเมืองจีนหลายคณะ ด้านกรุงปักกิ่งก็เคยส่งทูตไปกรุงวาติกัน และราชสำนักฝรั่งเศสเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น