อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม
อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม เป็นระบบการเขียน ที่หลากหลาย เป็นได้ทั้ง อักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ – พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” มาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่า ลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติค ตระกูลอินโด – ยุโรเปียน และอื่นๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น
- อักษรสุเมเรีย
- อักษรอัคคาเดีย/ บาบิโลเนีย/ อัสซีเรีย
(เซมิติคตะวันออก)
- อักษรอีลาไมต์
- อักษรเอบลาไอต์
- อักษรฮิตไตน์
- อักษรฮูร์เรีย
- อักษรอูตาร์เตีย
- อักษรยูการิติค (ระบบพยัญชนะ)
- อักษรเปอร์เซียโบราณ (ส่วนใหญ่ใช้แทนพยางค์)
ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณ อูรุก (Uruk) นิปเปอร์ ซูซา และเออร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้ พัฒนามาจาก ระบบการนับ ที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในเมโสโปเตเมีย โดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบน และแผ่นซ้อน
- แบบแผ่นแบน เป็นรูปแบบโบราณ พบตั้งแต่ 8,000
ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณกว้าง ตั้งแต่ ตุรกี ซีเรีย
อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่า
คล้ายกับว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทางเกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช
- แบบแผ่นซ้อน
เป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมาย เริ่มพบในช่วง 4,000
ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของเมโสโปเตเมีย ใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูป
ซึ่งพบในบริเวณ ที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เช่น สุเมเรีย ตัวอย่างที่เก่าสุด
พบในวิหารเทพีอินอันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ ของชาวสุเมเรีย
ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหารใช้บันทึก เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าของวิหาร
อักษรรูปลิ่มที่ทำมาจากดินเหนียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น