วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริง

 



 
ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เดินทาง มายังประเทศไทย เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้า สนธิสัญญาฉบับนี้มีชื่อเรียกตามนามของทูตที่เข้ามาเจรจาว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง                                                                                                                                                 เนื้อหาของสนธิสัญญา

1.อังกฤษได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
           2.ยกเลิกภาษีปากเรือ ตามสนธิสัญญาเบอร์นีย์ พ.ศ.2369 และให้เก็บภาษีสินค้าเข้า ร้อยละ 3 แทน ถ้าขายไม่  หมดจะคืนภาษีสินค้าส่วนที่เหลือให้
          3.ให้มีการค้าเสรี และไทยอนุญาตให้นำเข้า ปลา เกลือ ไปขายต่างประเทศได้ ยกเว้นปีที่เกิดขาดแคลน
           4.คนในบังคับอังกฤษนำฝิ่นเข้ามาขายในเมืองไทยได้ แต่ต้องขายให้เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ถ้าเจ้าภาษีฝิ่นไม่ซื้อต้องนำออกไป
         5.ถ้าชาติอื่นได้สิทธิพิเศษเพิ่มเติม อังกฤษจะได้สิทธิพิเศษนั้นด้วย นั่นคืออังกฤษได้สิทธิชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง
         6.สนธิสัญญานี้จะแก้ไขได้เมื่อพ้น 10 ปีไปแล้ว และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี โดยได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 ฝ่าย
สนธิสัญญาเบาว์ริงกับผลกระทบต่อประเทศสยาม


1.รายได้ของประเทศลดลง เนื่องจากหลังการทำสัญญา ไทยต้องเปิดเสรีทางการค้าทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการค้าผูก ขาดของพระคลังสินค้า ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีรายได้ลดลง ทำให้รัชกาลที่ 4 ต้องทรงพยายามหารายได้จากทางอื่น ตั้งแต่ การเพิ่มจำนวนประเภทภาษีจากเดิมที่เก็บในรัชกาลที่ 3 การให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดการจับเก็บภาษีมากขึ้น และการ จัดระบบแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การจำกัดอัตราภาษีขาเข้าตายตัวยังทำให้ สินค้าต่างชาติเข้ามาตีตลาดสินค้าภายใน เช่น น้ำตาล และผ้าทอพื้นเมือง ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมพื้นบ้านของไทย ซึ่งใช้เทคนิคการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพต้องซบเซาลง และถูกแทนที่ด้วยสินค้านำเข้าที่ทำด้วยเครื่องจักรที่มีราคาถูกกว่า

2.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ไทยได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อการยังชีพ <การผลิตเพื่อการยังชีพ ( Self Subficient Economy ) กล่าวคือแต่ละครัวเรือนหรือ หมู่บ้านต่างก็ทำการผลิตทางการ เกษตรเป็นอาชีพหลัก และอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นอาชีพรองเพื่อการ บริโภคและการใช้สอย ส่วนที่เหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะนำไปแลกเปลี่ยนภายในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียงกัน ลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า ( Bater System ) > มาเป็นการผลิตเพื่อการค้า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ข้าวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนการส่งข้าวไปขาย พร้อมกับการส่งเสริมการเปิดที่นาใหม่โดยไม่ต้องเก็บภาษีค่านาปีแรก ลด อากรค่านา และ ผ่อนผันให้ไพร่กลับไปทำนาในช่วงเวลารับราชการได้ มีการขุดคลองซึ่งให้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก และการคมนาคม การที่ทางการให้การสนับสนุนและการที่ข้าวมีราคาสูงขึ้นทำให้ราษฎรหันมาทำนาเพื่อการค้ากันมากขึ้น อย่างไรก็ตามคนไทยจะมีบทบาทเฉพาะการปลูกข้าวเท่านั้น ส่วนการแปรรูปข้าวเปลือก และการค้าข้าวตกอยู่ในมือพ่อค้า คนกลาง คือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามานั่นเอง นอกจากข้าวแล้วยังมีสินค้าอีกสองอย่าง คือ ดีบุก กับ ไม้สัก ซึ่งมีความสำคัญขึ้น มาแทนที่น้ำตาลที่เคยมีความสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 อีกด้วย
3.เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นการนำเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก ประเทศไทยเริ่มผูกผนวกให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลก โดยประเทศไทยทำหน้าที่ผลิตสินค้า ขั้นปฐมภูมิและวัตถุดิบ เพื่อส่งออกแลกเปลี่ยนกับสินค้าสำเร็จรูป ที่นำเข้ามาบริโภคในประเทศ ผลพวงจากเหตุการณ์นี้ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ดังนี้
1. การเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้า สินค้าที่ได้จากการเก็บส่วยมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้รัฐหรือพ่อค้า ต้องหาซื้อสินค้าจากชาวบ้านเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านปรับปรุงการผลิตมากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านปรับปรุงการผลิตมากขึ้น เพื่อจะได้นำมาขาย ถือเป็นการเริ่มต้นของการผลิตเพื่อการค้า2. สินค้าที่ส่งออกมีความหลากหลายมากขึ้น
3. ประเภทของสินค้นที่ส่งออกเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นสินค้าการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมขั้นต้น เช่น ฝ้าย พริกไทย ยาสูบ อ้อย มะพร้าว ปลาแห้ง เกลือ ดีบุก น้ำตาลทราย เป็นต้น
4. เกิดระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา เนื่องจากเงินตราเดิมที่ใช้อยู่ คือ เบี้ย และเงินพดด้วงเริ่มขาดแคลน อีกทั้ง ยังเกิดการแตกหักและปลอมแปลงได้ง่าย รัชกาลที่ 4 จึงตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญชนิด และ ราคาต่างๆ ได้แก่ เหรียญดีบุกที่เรียกว่า อัฐ โสฬส เหรียญทองเรียก ทศ พิศ พัดดึงส์ และเหรียญทองแดงคือ ซีก หรือ เซี่ยว(เสี้ยว)
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงินตราที่ใช้เงินเป็นมาตรฐานไปสู่การใช้ทองคำเป็นมาตรฐาน รัชกาลที่ 5 ทรง ประกาศ พระราชบัญญัติทองคำกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้การแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทไทย กับ เงินตราสกุลอื่นๆ มีความสะดวก และมีเสถียรภาพ อีกทั้งเพื่อการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่กำลังตกต่ำลง เนื่องมาจากการที่ราคาของแร่เงินตก ต่ำ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ไทยนำค่าของเงินตราไปเกี่ยวพันกับโลกภายนอก
5.การปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ปัญหาการที่รายได้ของรัฐลดลงหลังการทำสนธิ สัญญาเบาว์ริงด้วยการเพิ่มชนิดของภาษีอากรอีกหลายชนิด โดยผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็มีข้อ บกพร่องอย่างมาก เช่น รายได้ของหลวงรั่วไหล เงินที่ทางราชการเก็บได้ก็ลดน้อยลงทุกที รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า การเก็บภาษีแบบเดิม ที่แต่ละหน่วยงานแยกกันเก็บแล้วส่งมาให้ส่วนกลาง ทำให้เงินภาษีรั่วไหลมาก จึงทรงปฏิรูประบบ ภาษีอากรและการคลังใหม่ โดยจัดตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ เพื่อเป็นสถานที่รวบ รวมพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังให้รู้จำนวนเงินที่มีอยู่ ทำหน้าที่รวบรวมเงินภาษีอากรจากทั่วประเทศให้มาอยู่ที่เดียวกัน เพื่อนำเงินภาษีมาพัฒนาประเทศ

ในปี พุทธศักราช ๒๔๓๓ ได้ยกกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่รับจ่ายและรักษา เงินแผ่นดิน รักษาบัญชีพระราชทรัพย์ของแผ่นดิน และตั้งกรมที่ทำหน้าที่เก็บภาษีอากรโดยเฉพาะ เช่น กรมสรรพกร กรม สรรพภาษี กรมส่วย กรมอากรที่ดิน และกรมศุลกากร การปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง ทำให้เงินภาษีไม่รั่วไหลและ เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มขึ้น และนำเงินรายได้นั้นมาพัฒนาประเทศทั้งการสาธารณูปโภค การ คมนาคมสื่อสาร

นอกจากนี้ได้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกใน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นการวางระเบียบและควบ คุมการใช้จ่ายของประเทศให้รัดกุมและเหมาะสม มีการกำหนดเงินเดือนของข้าราชการและเงินค่าใช้จ่ายส่วน พระองค์ที่แน่นอนเงินของประเทศและเงินส่วนพระองค์จึงแยกออกจากกัน โดยมีพระคลังข้างที่เป็นผู้ดูแลพระราช ทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วนเงินของประเทศให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยน แปลงระบบเงินตราจากมาตรฐานเงินเป็นมาตรฐานทองคำ ในพุทธศักราช ๒๔๕๑ และกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอน คือ ๑๓ บาทต่อ ๑ ปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกการนำค่าของเงินไปผูกพันและเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก ทำให้ เสถียรภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของไทยในสายตาของต่างชาติดีขึ้น ประเทศที่ใช้มาตรฐานทองคำเช่นกันมีความมั่นใจใน ค่าของเงินไทย และมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ส่งผลให้การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศขยายตัวมากยิ่งขึ้น และมี การปฏิรูปที่สำคัญอีกประการคือ ในปี พุทธศักราช ๒๔๔๑ ได้มีการกำหนดมาตราเงินใหม่ เหลือเพียง ๒ หน่วยคือ บาทกับ สตางค์ โดย ๑ บาทเท่ากับ ๑๐๐ สตางค์ ประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงใน พุทธศักราช ๒๔๔๗ และมีการใช้ธนบัตรแทนเงิน เหรียญที่พกพาไม่สะดวกเพราะมีน้ำหนักมาก โดยออก "พระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑"(พุทธศักราช ๒๔๔๕) ธนบัตรรุ่น แรกมี ๕ ราคา คือ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัฐบาลไทยได้ตั้งกรมธนบัตรขึ้นเพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรโดยตรงใน พุทธศักราช ๒๔๕๕ส่วนกิจการธนาคารนั้นในระยะ แรกเป็นของชาวต่างประเทศ ในพุทธศักราช ๒๔๔๗ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระ คลังมหาสมบัติเป็นหัวหน้าร่วมลงทุน จัดตั้งธนาคารขึ้นมา เรียกว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ในพุทธศักราช ๒๔๔๙ เปลี่ยน ชื่อเป็น บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล จำกัด (The Siam Commercial Bank Ltd.) และใน พุทธศักราช ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งยังคงใช้มาจนปัจจุบัน

4 ความคิดเห็น:

  1. ควรมีรูปภาพมากกว่านี้นะครับ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาดีครับ ขอบคุณ ครับ

    เขียน สรุป ได้ดี ควรมีการอ้างอิง

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ